Print this page
Thursday, 14 June 2018 03:27

เส้นทางสู่ AFPT™ Featured

Written by
Rate this item
(0 votes)
AFPT™ เป็นคุณวุฒิผู้ประกอบวิชาชีพที่รับรองโดยสมาคมนักวางแผนการเงินไทย

ซึ่งรับรองความสามารถของที่ปรึกษาการเงินในการให้บริการวางแผนหรือปรึกษาการเงินซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่

-               ที่ปรึกษาการเงินด้านการลงทุน ต้องผ่านการอบรม และสอบผ่าน ด้านการวางแผนการลงทุน

-               ที่ปรึกษาการเงินด้านการประกันชีวิต ต้องผ่านการอบรม และสอบผ่าน ด้านการวางแผนประกันภัย และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ

ในการเข้ารับการอบรม ไม่จำเป็นต้องเข้าอบรมตามลำดับ ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเข้าอบรมชุดวิชาใดก่อนก็ได้ อย่างไรก็ตามผู้ที่มีความประสงค์จะสมัครสอบ นอกจากจะต้องผ่านการอบรมในชุดวิชาที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังต้องผ่านการอบรมในชุดวิชาที่ 1

AFPT™ จะต้องสอบผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่สมาคมนักวางแผนการเงินไทยกำหนด และปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้ที่ปรึกษาการเงินสามารถก้าวขึ้นมาเป็นนักวางแผนการเงินได้ เมื่อมีคุณสมบัติครบตามมาตรฐานการเป็นนักวางแผนการเงิน CFP® ที่กำหนด

ในการสอบข้อสอบฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3 นั้น ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการสอบตามลำดับแต่อย่างใด ผู้เข้าสอบสามารถเลือกชุดข้อสอบที่ประสงค์จะสอบได้ตามความสมัครใจ แต่มีเงื่อนไขในการเข้าสอบคือ ต้องผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 1 และชุดวิชาที่ข้อสอบชุดนั้นๆ ครอบคลุมถึง

การขึ้นทะเบียนเป็น AFPT™ ไม่มีข้อกำหนดจำนวนปีประสบการณ์การทำงานในวิชาชีพ

ค่าธรรมเนียมในการพิจารณาขึ้นทะเบียน แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

-               ค่าธรรมเนียมคำขอ จำนวน 535 บาท (เป็นอัตราที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)

-               ในกรณีที่ผ่านการพิจารณาอนุมัติการขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ แล้ว จะต้องดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมสมาชิกราย 2 ปี ดังนี้

สองปีเต็ม จำนวน 2,568 บาท

หนึ่งปีเต็ม จำนวน 1,284 บาท

ครึ่งปีที่สอง (ยื่นหลังจากวันที่ 1 กรกฎาคม) จำนวน 642 บาท

นักวางแผนการเงินที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ AFPT™ จะต้องทำการต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ (renew) ทุก 2 ปีปฎิทิน และจะต้องมีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (continuing professional development : CPD) จำนวนไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง ประกอบการขอยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมสมาชิกราย 2 ปี จำนวน 7,000 บาท (หรือจำนวน 7,490 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ภายในวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ครบกำหนดอายุด้วย

Read 1818 times Last modified on Thursday, 14 June 2018 03:32
Super User

Latest from Super User